Wednesday, January 16, 2008

ฝรั่งมองไทย

ฝรั่งมองไทยไมเคิล ไรททักษิณ - ภาพวาดทางจิตวิทยาThaksin - A Psychological Profileความนำท่าน Freud, บิดาแห่งจิตวิทยา, เสนอว่า คนเราล้วนแต่คลอดออกจากครรภ์, ดำเนินชีวิตอยู่ชั่วหนึ่ง, แล้วตกลงไปในหลุมฝังศพ คนจิตปกติโดยมากจะรักชีวิต, โตขึ้นแล้วสู้, ไม่ยอมถอย แต่บางคนเป็นโรคจิต, รำลึกแต่ความสุขสบายในครรภ์ (หรืออ้อมกอด) ของแม่ จึงไม่ยอมโต, ไม่ยอมสู้, ได้แต่ถอยหลัง คนโรคจิตอีกประเภทหนึ่ง โตขึ้นมาแล้วเห็นชีวิตนี้เป็นทุกข์เหลือทน จึงมีความมุ่งหมายทำลายตัวเอง (self-destructive Urge)จิตแพทย์ที่ทำงานกับคนพยายามฆ่าตัวตาย ระบุว่า "คนไข้บางรายช่วยไม่ได้เพราะจะทำลายตัวเองให้ได้, ทั้งๆ ที่เป็นคนร่ำรวย, อยู่สุขสบาย, ไม่มีเรื่องเบียดเบียน"เป็นไปได้ไหมว่าคุณทักษิณมี Self-destructive Urge?ทักษิณได้อำนาจสมัยนั้นผมเป็นกลาง ผมไม่นิยม, เพราะเห็นท่านเป็นเพียงมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ทำกำไรได้เป็นเลิศ, แต่ไม่มีรสนิยมหรือจรรยางดงามอย่างที่เรียกกันว่า "ผู้ดี" อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับว่าท่านเป็นพ่อค้าที่เฉลียวฉลาด, มีทักษะ, มีความมั่นใจในตัวเอง (Self Confidence) สูง, และคงมีความหวังดีต่อบ้านเมืองดังนี้ น่าเชื่อว่าทักษิณเหมาะสมจะเป็นผู้นำและคงสร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้ประเทศ หลายๆ คน, ทั้งที่รักทักษิณและที่ไม่รักทักษิณ, หวังเช่นนี้ตั้งแต่ต้นในช่วงแรก (2545-2546) ทักษิณดูเป็นฮีโร่ เพราะเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวจากการตกต่ำปี 2540 แต่ที่เศรษฐกิจฟื้นนั้นเป็นฝีมือทักษิณจริงหรือ? หรือเป็นผลมาจากนโยบายเข้มงวดของรัฐบาล ปชป. (2540-2544)?Death Wish (ความมุ่งทำลายตัวเอง) ของทักษิณเริ่มปรากฏในช่วงแรก ในช่วงนั้นท่านแทบไม่มีศัตรูเลย บรรดาครูบาอาจารย์และปัญญาชนต่างหุบปาก, หมายจะให้โอกาสทักษิณ, แต่พอนักวิชาการที่เป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วไป (เช่น หมอประเวศ, อ.ธีรยุทธ ฯลฯ) ออกความคิดเห็นทักท้วงบ้าง ทักษิณก็ตวาดด่าทอ เหยียดหยาม ตบหน้านี่คือการแปรเพื่อนรวมชาติให้เป็นศัตรูโดยไม่จำเป็นขั้นแรกปัญหาสามจังหวัดภาคใต้หรือ? ป๋าเปรมแก้เมื่อราว 20 ปีที่แล้ว ทักษิณถอดถอนระบบที่ป๋าเปรมจัดไว้, แล้วเมื่อเกิดความไม่สงบขึ้นใหม่ท่านตอบโต้ด้วยความรุนแรงผิดหลักการ (ที่มัสยิดกรือเซะและตากใบ ฯลฯ) เป็นการตบหน้าเย้ยหยันชาวมุสลิมทั้งฝ่ายก่อการร้ายและฝ่ายหวังดีต่อรัฐแล้วแทนที่จะรับผิดชอบในเรื่องนี้, ทักษิณแต่งตั้ง ท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานองค์กรอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ที่มีความรับผิดชอบประนีประนอมสร้างสันติภาพแต่ไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น, ทำให้คุณทักษิณหลุดพ้น, และคุณอานันท์ติดเบ็ดแทนที่ผู้บริโภคสาธารณูปโภคเคยเป็นเพื่อนทักษิณ, แต่ที่ท่านจะขายการผลิตไฟฟ้าให้เอกชนนั้นใครๆ ก็เดือดร้อนและลุกขึ้นประท้วง คุณทักษิณไม่รู้หรือว่าคนไทยโดยมากอ่านหนังสือพิมพ์กันจึงรู้ว่า ในโลกตะวันตกเมื่อรัฐขายสาธารณูปโภคให้ภาคเอกชน (นายทุน) คุณภาพบริการเสื่อมทันทีและราคาพุ่งขึ้นอย่างนี้เป็นการแปรประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เป็นเพื่อนให้กลายเป็นศัตรูแต่แรกสื่อสารมวลชนไม่ได้ผูกพยาบาทกับคุณทักษิณ, แต่ที่ท่านอุตส่าห์ยึดครองสื่อไฟฟ้าทั้งหมดทำให้สื่ออื่นระแวงตัว ที่ท่านเล่นเกมว่าจะเขมือบมติชนกับ Bangkok Post เป็นการเป่าแตรให้สื่อเสรีเท่าที่เหลือลุกสู้ป้องกันตัวอย่างนี้คุณทักษิณทำเย้ยหยันตบหน้าแนวร่วมอีกตามเคยผมไม่พิสมัยนักหนากับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผมเห็นเป็นนายทุนเล่นปาหี่, สมเป็นเสี่ยวกับคุณทักษิณ ที่ท่านทั้งสองผิดเสี่ยวกันผมไม่เข้าใจ, แต่ดูเป็นกรณีคุณทักษิณเย้ยหยันตบหน้าแนวร่วมอีกกรณีหนึ่งที่ท่านนายกฯ ว่าจะแก้ปัญหาความยากจนนั้นก็ดีอยู่, แต่ท่านจริงใจแค่ไหน? ชาวชนบทยากจนหลายคนสมัยนี้ทราบกันดีว่าเขายากจนไม่ใช่เพราะเวรเพราะกรรม, เพราะเขาเกียจคร้านไม่รู้จักประหยัด, แต่เป็นเพราะโครงสร้างเศรษฐกิจที่นายทุนใหญ่คุมทั้งปัจจัยการผลิตและตลาดดังนี้ เมื่อคุณทักษิณไปอำเภอ อาจสามารถ เพื่อสอนชาวบ้านให้ขยัน, ประหยัด, กล้าลงทุน ฯลฯ, แล้วแก้ปัญหาเป็นรายๆ (on a case-by-case basis) โดยไม่พูดถึงการแก้ปัญหาโครงสร้าง, ก็เท่ากับเป็นการเย้ยหยันตบหน้าหลอกลวงชาวบ้านแล้วในที่สุดครอบครัวท่านนายกฯ ขายกิจการ Shin Corp. ให้รัฐบาลสิงคโปร์ในเรือน 7.3 หมื่นล้านบาท โดยไม่ต้องเสียภาษี ผมไม่เป็นทนายความและไม่รู้เรื่องกฎหมายภาษี ชะรอยการซื้อขายครั้งนี้จะบริสุทธิ์ผุดผ่องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ แต่ว่าตามหลักจริยธรรม (Decency/Propriety) มันส่งกลิ่นเหม็นแผ่ฟุ้งไปทั่วแผ่นดินทำให้ผู้เสียภาษีทุกตัวคนรู้สึกว่าถูกตบหน้าเย้ยหยันตามๆ กันความส่งท้ายผมไม่ได้เป็นจิตแพทย์หรือนักประสาทวิทยา, แต่สงสัยว่าท่านนายกฯ อาจจะประสบกับเส้นโลหิตฝอยในสมองแตกเป็นขบวนลูกโซ่ (Series of Minor Strokes) ซึ่งทำให้สติสัมปชัญญะ (Self-Governing Faculty) ค่อยๆ ลดตามลำดับ, บันดาลให้พูดและประพฤติผิดพลาดยิ่งๆ ขึ้น ขบวนการลูกโซ่นี้อาจจะเกิดครั้งแรกนานมาแล้วเมื่อท่านพูดตวาดคุณหมอประเวศ, ซึ่งเป็นเพียง "ความไม่เหมาะสม" ในตัวนักการเมืองชั้นผู้ใหญ่แต่ครั้งล่าสุดที่ท่านขายชินคอร์ป ดูจะเป็นความคลั่งไร้สติ, เพราะหากท่านสติดีก็ต้องทราบอยู่เต็มอกว่าจะเกิดปฏิกิริยาอย่างไรขอชวนจิตแพทย์และนักประสาทวิทยาช่วยกันศึกษาวิเคราะห์ประวัติพฤติกรรมของท่านนายกฯ ทักษิณในห้าปีที่ผ่านมา ชะรอยท่านจะได้ไขปริศนาที่นักรัฐศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์, นักธรรมศาสตร์, และนักประวัติศาสตร์ ต่างไม่สามารถอธิบายได้หากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเป็นที่เคารพเชื่อถือวินิจฉัยว่าท่านนายกฯ ป่วยด้วยโรคดังที่เสนอมา, ก็จะเป็นทางออกที่ดีสำหรับทุกฝ่าย ท่านจะได้รีบไปรักษาสุขภาพก่อนที่โรคจะบานปลายเหลือจะเยียวยาได้และบ้านเมืองจะได้กลับสู่สภาพปกติเสียที



จดหมายจากลอนดอน(ถึงนายกรัฐมนตรี)โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 10 กุมภาพันธ์ 2549 15:43 น. มหานครลอนดอน, 9 กุมภาพันธ์ 2549 กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ผมเสียดายและเสียใจอย่างสุดซึ้งที่รัฐบาลเสียงข้างมากที่ล้นหลามในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งคงจะหาไม่ได้อีกแล้วใน อนาคต กำลังจะต้องอับปางลง นอกจากความถูกผิดของเรื่องต่างๆในตัวของมันเอง สาเหตุของความเสียหายที่บานปลายขึ้น อาจจะเป็นเพราะกรรม 2 ตัว ด้วยกันคือ หนึ่ง ท่านนายกฯมีความมั่นใจในตัวเองสูง ไม่เห็นใครในสายตาและไม่ฟังใคร อาจจะหลงคิดว่าตนตั้งใจทำความดีและได้ทำคว ามดียิ่งใหญ่แล้ว เหนือใครๆทั้งหมดทั้งสิ้นในแผ่นดิน ใครไม่เห็นด้วยล้วนแต่โง่เง่า มองโลกด้านเดียว สอง บุคคลที่แวดล้อมรับใช้ใกล้ชิดท่านนายกฯ อาจ “ป้อยอ สอพลอพลอย ทุกเช้าค่ำ” ไม่กล้าหรือไม่รู้จักท้วงติงให้ความจริงต่อ นายอย่างตรงไปตรงมา ซ้ำยังจองหองพองขน ยกตนข่มท่าน ใครวิพากษ์วิจารณ์นายอย่างไรก็มิได้ หาว่าเป็นพวกฝ่ายค้านที่จ้องจะล้มรัฐบ าลอยู่ร่ำไป ก่อนออกจากดอนเมืองตอนเที่ยงคืนวันที่ 5 มีลูกศิษย์โทรมาอ่าน นสพ.คมชัดลึกให้ฟังว่า ผมสัมภาษณ์ขับไล่ท่านนายกฯ เพราะ ท่านนายกฯได้กลายเป็นปัญหาแทนที่จะเป็นทรัพยากรของชาติ ซึ่งก็สอดคล้องกับกระแสที่เรียกร้องอยู่ขณะนี้ แต่ความจริงผมมิได้ให้สัมภาษณ์ แต่ไปพูดให้สมาชิกสถาบันวิถีทรรศน์และศูนย์นวัตกรรม ม.รังสิตฟัง ผมเขียนหัวข้อคำบรรยาย แจกเหมือนกับทุกครั้ง เพื่อจะช่วยให้ผู้สื่อข่าวนำไปรายงานได้อย่างถูกต้อง กลัวกลอนจะพาไปตามอุปาทาน หัวข้อที่พูดคือ “ทางออกของชาติในยามวิกฤต” มีอยู่ 15 หัวข้อย่อย ที่เป็นหัวใจขีดเส้นใต้คือข้อ 12 เกี่ยวกับ Best Case Scenarioหรือทางออกที่ดีที่สุด กับข้อ 13 เชื่อมโยงกัน คือ ในหลวงหรือทักษิณจะเป็นผู้ตัดสิน มีข้อความเด่นว่า โอกาสที่ดีที่สุดที่ทักษิณจะ ต้องฉกฉวยก็คือขอพึ่งพระบารมี ขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชประชาสมาสัย บรรดานักข่าวเป็นเด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจราชประชาสมาสัย ผมจึงยกตัวอย่างทางออกที่ดีที่สุดแบบที่หนึ่งมาอธิบายให้ฟัง คือ นายกรัฐมนตรีลาออก-ตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน-นายกรัฐมนตรีใหม่นำแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงมาตราเดียวคือม าตรา 201 เปิดโอกาสให้ตั้งนายกรัฐมนตรีราชประชาสมาสัยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอีก-นายกรัฐมนตรีใหม่นำแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สมบู รณ์เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีมหากษัตริย์เป็นประมุข-เลือกตั้งทั่วไป ผมจะอธิบายเพิ่มเติมในท้ายจดหมาย ขอพูดถึงเรื่องที่ท่านนายกฯอาจจะไม่อยากฟังที่สุดเสียก่อน ก็ด้วยความหลง 2 ประการที่กล่าวมา ยังผลให้ท่านนายกฯบริหารประเทศผิดพลาด หนีออกจากจารีตประเพณีและหลักกฎหมายข องแผ่นดิน จนท่านผู้รู้ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีฐานันดรและตำแหน่งสูงเป็นที่เคารพของบ้านเมืองออกมาประสานเป็นเสียงเดียวกันโดยมิได้นัดหมาย ว่า หนึ่ง ท่านนายกฯไม่เข้าใจหรืออาจจะจงใจทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สำแดงความประมาท ขาดความสำรวมเป็นทาสวจีกรรมที่จาบจ้วงล่วงเกินในหลวง ต่างกรรมต่างวาระ ที่สาหัสมากก็คือคำกล่าวว่า “ถ้านายกฯไม่จงรักภักดี ผี ที่ไหนจะจงรักภักดีวะ” ทั้งๆที่มีพวกออกมาติติงทั่วเมือง อีกไม่นานนายกฯยังบังอาจพูดอีกว่า มีทางเดียวเท่านั้นที่ท่านจะลาออก ก็คือขอให้ ในหลวงมากระซิบ คำพูดครั้งหลังนี้คนไทยรับไม่ได้ เพราะมีนัยลึกซึ้งหลายประการ ไม่ว่าจะตีความทางใดก็เสียหายทั้งนั้น แสดงว่านายกฯไม่เข้า ใจหรือแกล้งไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แสร้งพูดจาบจ้วงเพื่อท้าทายในหลวงหรือให้พวกไร้การศึกษาบูช านายกฯเข้าใจว่า ในหลวงยังสนับสนุนค้ำจุนนายกฯอยู่ ด้วยพระองค์ท่านยึดถือหลักประชาธิปไตย ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงตามพระรา ชหฤทัยได้ ซ้ำนายกฯยังปล่อยให้สถานีทีวีแพร่คำพูดดังกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า แทนที่จะรีบไปกราบพระบาทขอพระราชทานอภัย นอกจากนั้น นายกฯยังเฉยเมยทำเป็นทองไม่รู้ร้อน เมื่อมีพระราชดำรัสในวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ว่า คนที่พยักหน้าน่ะผิดที่มิได้แก้ไข คนที่ทำอะไรไม่ อยู่กะร่องกะรอยนี่ ถ้าหากลาออกไป ก็ไม่มีความผิด ที่สำคัญยิ่งพระองค์กล่าวว่า ผู้ที่นั่งแถวหน้า รู้ว่าเป็นใคร ที่ตำหนิข้าพเจ้า บอกว่า พระเจ้าอยู่หัวผิด พระเจ้าอยู่หัวทำไม่ดี ผมมิได้ลอกคำต่อคำเพราะอยู่ในต่างประเทศ แต่รับรองว่าพลความไม่ผิด เพราะผมก็เหมือนกับคนไทยทั่วๆไปที่คิดว่าพระองค์ท่า นตรัสถึงเพียงนี้ สมควรที่นายกฯจะรีบแก้ไขและคลานเข้าไปขอพระบรมราชวินิจฉัย สอง ท่านนายกฯทำลายรัฐธรรมนูญ โดยกระทำการอุกอาจไม่คำนึงถึงหลักกฏหมายและจริยธรรม ก่อให้เกิดคอร์รัปชั่นคดโกง อย่างใหญ่โตกว้างขวาง ครอบงำสิทธิเสรีภาพของสื่อ รัฐสภาและองค์กรอิสระจนไม่อาจตรวจสอบ ความหลงใหลในภาวะผู้นำแบบซีอีโอใ นระบอบประธานาธิบดี ทำให้ท่านายกฯรวบอำนาจเสมือนหนึ่งรัฐบาลเป็นบริษัทส่วนตัว ครอบงำทำลายคุณค่าผู้ร่วมงานตั้งแต่รองนายกรัฐม นตรีลงมาถึงตำรวจทหารศาลข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกระดับ แถมระบาดผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดลงไปถึงรากหญ้านายกอบต. ทำให้บรรดาซีอีโอโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านนายกฯต่างก็สร้างมูลค่าเพิ่มให้ตนเอง ทำลายมูลค่าเพิ่มของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงาน ขัดกับหลักการประชาธิปไตยที่มีส่วนร่วมเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งคุณเสนาะออกปากว่า นี่เป็นระบบทาส ขังผู้แทนไว้ในคุก ทำลายศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ ผมจึงอธิบายต่อง่ายๆว่า ระบบนี้ถ้าเป็นระดับพรรคก็เรียกว่า “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” ระดับรัฐบาล เป็น “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสนายก” สอดค้องและส่งเสริมระบบบริหารที่ทำลายประเทศไทยมานานคือระบบ “รวมศูนย์-รวบ อำนาจ-เป็นทาสส่วนกลาง” ซึ่งบันดาลให้ต่างจังหวัดของเรากลายเป็น”สังคมชั่วคราว”ไปหมด มีเจ้านายซีอีโอย้ายไปมาปกครองเหมือน ลัทธิเมืองขึ้น จนประชาชนตกอยู่ใต้สามลัทธิอุบาทว์คือ “ลัทธิตามอย่าง ตามน้ำ ตามพึ่ง” ซึ่งท่านนายกฯเป็นเอกอัครุปถัมภก ผมชื่นชมและขอบคุณท่านนายกฯ ที่แสดงให้โลกเห็นว่าสังคมไทยมีวุฒิภาวะ ไม่ฆ่ากันตายในคืนวันที่ 4 กุมภา ส่วนการที่ท่าน นายกฯจะตัดสินใจลาออกตามคำเรียกร้องหรือไม่ กรุณาอย่าไปอ้างในหลวง หรือแม้แต่ 19 ล้านเสียงก็ไม่สมควรอ้าง เพราะจะเป็นการ ให้การศึกษาผิดๆแก่ประชาชน ผิดทั้งตัวอย่างและทั้งทฤษฎี เพราะว่าแท้จริงนั้น การเลือกตั้งเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือพิธีกรรมอย่างหนึ่งของ ประชาธิปไตย เพื่อยืนยันความชอบธรรมอย่างที่ท่านนายกฯอ้างว่า มาตามกติกา แต่ความชอบธรรมดังกล่าวเป็นแค่กึ่งเดียว จะต้องมาต่อ เติมให้ครบอีกกึ่งหนึ่งด้วยการอยู่ตามกติกาอีกด้วย ข้อหลังนี้เป็นเรื่องที่สังคมไทยตัดสินว่าท่านนายกฯสอบตก ไร้ความชอบธรรมที่จะอยู่ต่อ ไป องค์ประกอบของสังคมไทยที่ผมอ้างมิใช่คนพวกเดียวจำนวนหยิบมือเดียวอย่างที่สื่อของรัฐบิดเบือน แต่เป็นคนจำนวนมากต่างอาชีพต่าง ฐานันดร มิใช่มีแต่นักวิชาการ หากมีศิลปินแห่งชาติ อดีตเอกอัครราชทูต ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ วุฒิสมาชิก อดีตรัฐมนตรีว่าการ ศูนย์นิสิตนัก ศึกษา ที่ลุกฮือขึ้นพร้อมกันโดยมิได้มีการจัดตั้ง และนับวันก็นับจะขยายตัวใหญ่โตขึ้น จนท่านนายกฯจะไม่สามารถบริหารราชการโดยราบรื่น ได้ การอ้างเสียง 19 ล้านนั้นเป็นการบิดเบือนทฤษฎีตัวแทนในทางการเมือง ซึ่งตัวการมีอำนาจเปลี่ยนได้ทุกเมื่อเมื่อหมดความไว้ว างใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเลือกตั้งโดยตรงแบบประธานาธิบดีและผู้ว่าราชการมลรัฐของอเมริกา เมื่อเร็วๆนี้ผู้เลือกตั้งก็ลงคะแน นเสียงปลดหรือ recall ผู้ว่าการรัฐคาลิฟอร์ เนีย โดยไม่มีข้อกล่าวหาใดๆ ประธานาธิบดีนิกสันก็ลาออกไปด้วยความบีบคั้นของประชาม ติด้วยเรื่องที่คนไทยเห็นว่าจิ๊บจ๊อย คือปิดบังความจริงและขัดขวางการสอบสวนคดีแอบเข้าไปจารกรรมสำนักงานหาเสียงของพรรคตรงกัน ข้าม ยิ่งเป็นระบบรัฐสภาก็ยิ่งอ้างไม่ได้ว่าตนถูกเลือกมาโดยตรง ตัวอย่างเช่น แธตเชอร์ ผู้นำพรรคเข้าหลักชัยล้นหลามถึง 3 สมัย ถูกลูกพรรคปลดออกกลางเทอมเพราะประชาชนชักมีปฏิกิริยาไม่ดี นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนับไม่ถ้วนที่ประสบชะตากรรมเช่นนี้ ปัญหาต่อไปคือมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้นำประเทศ ซึ่งถือกันว่าต้องสูงกว่าคนธรรมดาหรือแม้กระทั่งนักบุญ เพราะผู้นำ สามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่า จึงมีคำพังเพยว่า ผู้ปกครองไม่ดีเหมือนมีห่าลงกิน บุคคลธรรมดากระทำผิดท่านให้สันนิษฐานว่าบริ สุทธิจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิด นักบุญท่านให้สันนิษฐานว่าผิดจนกว่าพิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์ สำหรับผู้ปกครองเพียงทำตนให้ต้องสงสัย ท่านให้ถือ ว่าผิด ต้องเอาตัวไปลงโทษ ผมไม่อยากกล่าวย้ำถึงความผิดต่างๆที่มีผู้กล่าวหาท่านนายกฯ จะพูดถึงเรื่องซุกหุ้นเท่านั้น ในกรณีซุกหุ้นครั้งที่ 1 ถ้าตุลาการรัฐ ธรรมนูญมีมาตรฐาน ท่านนายกฯจะไม่มีทางรอด นอกจากจะอ้างทฤษฎีสัญญาประชาคม เพราะความผิดของท่านายกฯนั้นเป็นสิ่งที่กฎหมายห้ าม ตามหลัก Mala Prohibita คือห้ามแล้วยังกระทำ ต้องถือว่าผิด โดยไม่ต้องสืบเจตนาหรือตีความใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เรื่อง บริษัทแอมเปิลริชที่ท่านนายกฯไปแอบตั้งไว้ต่างประเทศ และถูกวุฒิสมาชิกแก้วสรร อติโพธิ์และคณะร้องเรียนว่า ท่านนายกฯกระทำผิดรัฐ ธรรมนูญมาตรา 209 นั้น ผมก็เห็นว่าเข้าข่าย Mala Prohibita 100% ท่านนายกฯไม่มีทางรอด ที่เหลืออยู่ก็คือความสำนึกและมโนธรรมของท่านนายกฯเท่านั้น หากท่านเลือกทางออกที่ผมเสนอว่าดีที่สุด ก็คงจะดีที่สุดสำหรับ ท่านนายกฯและประเทศชาติด้วย สถาบันนายกฯเป็นสถาบันทรงเกียรติ ผมไม่อยากเห็นใครถูกขับอย่างกุ๋ย ผมอยากเห็นท่านนายกฯรักษา สถาบันและออกไปอย่างรัฐบุรุษเช่นเดียวกับพลเอกเกรียงศักดิ์ และพลเอกชวลิต ผมขออธิบาย Best Case Scenario คือขั้นที่ 1 นายกฯลาออก และ 2 ตั้งนายกฯใหม่ ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน อย่างน้อยก็ ยังจะได้บุคคลที่เคารพนับถือท่านนายกฯ ไม่ทำอะไรที่รุนแรงแบบน้ำลดตอผุด เปิดทางให้ท่านนายกฯเว้นวรรคอย่างสงบ เมื่อนายก รัฐมนตรีใหม่นำแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 201 เปิดทางให้บุคคลทั้งนอกและในสภา เราก็อาจจะใช้ขบวนการราชประชาสมาสัยเลือกนายกฯที่ ไม่ต้องอ้างว่าเป็นนายกฯพระราชทาน แต่เป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายรวมทั้งในหลวงยอมรับ จะได้เข้ามาบริหารและแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ในร ะบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง โดยการมีส่วนร่วมจากพระมหากรุณา รัฐสภาและบุคคลทุกหมู่เหล่า โดยไม่ ต้องทำลายตัวหนังสือที่เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ใช้วิธีเพิ่มเติมที่เรียกว่า extra constutional ตามจารีตประเพณืและไม่ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เสร็จแล้วจะได้มีการเลือกตั้งทั่วไปและเดินหน้าปฏิรูปการเมืองประเทศชาติอย่างจริงจังเสียที ทำอย่างนี้ สังคมไทยจะได้แสดงวุฒิภาวะ สมกับเป็นประเทศเก่าแก่ มีพระมหากษัตริย์อันประเสริฐ สามารถเปลี่ยนแปลงอย่าง ราบรื่นต่อเนื่อง ไม่มีอะไรเสียหายร้ายแรง ท่านนายกฯครับ เกือบสามสิบปีมาแล้ว ผมนั่งอยู่กับอาจารย์ป๋วย เมื่อท่านเขียนจดหมายจากนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึงจอมพลถนอม ผมเสียดายทีผู้นำและสังคมไทยมีอัตตาเกินไปที่จะฟังคำของอาจารย์ หาไม่เราอาจจะไม่มี 14 ตุลาคม และอาจจะพัฒนาการเมืองได้ ราบรื่นกว่านี้ บัดนี้ โอกาสเป็นของท่านนายกฯแล้ว วันนี้ผมมานั่งเขียนถึงท่านนายกฯอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีนัก นักคิดนักเขียนชั้นนำของโลกทุกยุคทุกสมัยมานั่งฝันที่จะสร้างสังคมในอุดมคติที่นี่ ผมจึงเขียนถึงท่านนายกฯด้วยความตั้งใจและภูมิใจยิ่งที่เกิด มาเป็นคนไทย ผมอยากจะเล่าส่งท้ายว่าเดือนที่แล้ว เพื่อนเก่าที่ไม่ได้คุยกันมาเกือบ 50 ปีโทรมาหา เธอเป็นปัญญาชนชั้นนำของจุฬาฯ แตก ฉานทั้งภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน เธอไปฟังและสนับสนุนสนธิทุกรายการ ทั้งๆที่สามีและลูกหลานไม่ชอบเลย แต่เธอเห็นว่า เป็นหน้าที่อันศักดิสิทธิ เธอกลั้นสะอื้นอ่านกลอนของพันเอกมรว.เล็ก งอนรถ ให้ผมฟัง 2 บท ผมขอเปลี่ยนวรรคที่ 1 และขอมอบให้ท่าน นายกฯและพี่น้องชาวไทยทุกคน “เจ้าเป็น ลูกเลิศ ของพ่อแม่ ก็จริงแหล่ แต่ชาติ สำคัญกว่า ทางที่ถูก เจ้าเป็นลูก อยุธยา ก็เหนือกว่า พ่อแม่ มาแต่ไร เจ้าอาจเสีย พ่อแม่ ในวันหน้า แต่จะเสีย อยุธยา หาได้ไม่ เพระฉะนั้น จงรู้จัก รักเมืองไทย รักษาไว้ ให้อยู่ คู่ฟ้าดิน” ปราโมทย์ นาครทรรพ



กตัญญู ประยุกต์ศิลป์ มวลชนคนรากหญ้า คือฐานรากระบอบทักษิณฝัก-ฝ่ายที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจากเหตุการณ์ 'ล้มทักษิณ' ที่เป็นอยู่ นานวันจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น ฝักหนึ่งที่ต่อสู้เพื่อล้มล้างรัฐบาลที่ขาดซึ่ง 'จริยธรรม' ก็ยังคงปักหลักสู้ไม่ถอย ฝ่ายหนึ่งที่สนับสนุนรัฐบาล ก็ออกโรงเต็มตัวว่าสู้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไม่ว่าจะมาด้วย 'แรงจูงใจ' อะไรก็ตาม แต่ก็สร้างความ 'พองลม' ให้กับ 'นายกฯ รักษาการ' คนที่ชื่อ 'ทักษิณ' ได้ไม่น้อย อย่างไรก็ดี เมื่อหันมามองในมุมหนึ่งที่น่าสนใจของฝักและฝ่ายที่ว่ามา จะพบว่าเหมือนเป็นการต่อสู้ของคนสองลักษณะ ลักษณะหนึ่ง คือ คนที่มีโอกาสผ่านการศึกษาเล่าเรียน และมีภูมิความรู้พอที่จะ 'ชี้นำ' สังคมได้ อีกลักษณะ คือ กลุ่มชนชั้นที่ขาดโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน แต่ใช้ชีวิตอยู่ในสัมมาอาชีพ และส่วนใหญ่ค่อนข้างลำบาก ซึ่งต้องได้รับการเกื้อกูล-ดูแลจากภาครัฐทั้งการอยู่-กิน และอื่นๆ ดังนั้น เมื่อคนสองกลุ่มมาพบกันบนความขัดแย้งที่มีฉากหลังเป็น 'การเมือง' ภายใต้รัฐบาลที่เคยได้คะแนนเสียงท่วมท้นล้นหลาม จนมั่นใจว่าจะ 'ได้อีก' จากนโยบาย 'ประชานิยม' ที่หว่านลงไปให้กับคนลักษณะที่สอง ซึ่งถือเป็นคน 'กลุ่มใหญ่' ของประเทศ..นั้น ถึงวันนี้..จึงน่าคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้น และคนกลุ่มไหนจะเป็นฝ่าย 'ชนะ'? ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พูดถึงประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ในงานเสวนา 'ผ่าทางตัน วิกฤติการเมือง' ครั้งที่ 6 ซึ่งหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในเครือเนชั่นฯ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา ใจความสำคัญของเสวนาในวันนั้น อาจสรุปได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความชอบธรรมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป แต่ ดร.ผาสุก ได้ให้เหตุผลว่า อาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ มีคนใน 'ฐานราก' หรือคนลักษณะที่สองดังกล่าวมาข้างต้น คอยสนับสนุนอีกมหาศาล ทั้งนี้ ด้วยนโยบายประชานิยม นั่นเอง "เราอาจเห็นว่าคุณทักษิณสามารถนำคนเรือนแสน มาฟังคำปราศรัยที่ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 3 มีนาคมได้ ส่วนหนึ่งเพราะว่าอำนาจรัฐช่วยให้มีการสำแดงความนิยมนี้ให้มันดูมากมาย อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ผู้คนยังชื่นชมกับนโยบายประชานิยม" ในส่วนของประชานิยมนั้น ดร.ผาสุก ได้อธิบายว่า การที่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวออกมาแสดงพลังเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เพราะต้องการให้นโยบายประชานิยมคงอยู่ เพื่อต่อชีวิตแบบที่พวกเขาไม่เคยเจอให้ดำรงต่อไป ซึ่งเมื่อมองในส่วนที่เป็น 'ข้อดี' ของนโยบายประชานิยม หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าเป็น 'ระบอบทักษิณ' นั้น ดร ผาสุกให้เหตุผลว่า เพราะมันได้สร้าง 'ความหวัง' ให้แก่ผู้คนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน "ส่วนบวกของระบอบทักษิณที่เกิดขึ้น ก็คือ ระบอบทักษิณได้ยกระดับความคาดหวังของผู้น้อยในสังคมไทย ให้เขารู้ว่าการเมืองในกรอบรัฐสภาประชาธิปไตยนี้ สามารถจะให้ 'อะไร' กับเขาได้บ้าง อย่างชนิดที่ไม่เคยได้รับมาก่อนที่จะมีนายกฯ ชื่อทักษิณเลย" ถึงตรงนี้จึงอาจวิเคราะห์ได้ว่า ในเมื่อเรารับรู้มาตลอดว่ารัฐบาลไทยไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหนที่สร้างความ 'อู้ฟู่' ให้กับมวลชนคนรากหญ้าได้เท่ากับรัฐบาลชุดนี้ แม้ว่าความอู้ฟู่นั้นจะหมายเพียงแค่การได้พก 'โทรศัพท์มือถือ' เครื่องละไม่กี่พันบาท แต่สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว นั่นกลับหมายถึงการมี 'คุณภาพชีวิต' ที่ดี ครั้นเมื่อรัฐบาลของนายกฯ ทักษิณ สนองตอบตรงนี้ให้พวกเขาได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่แรงสนับสนุนจากชาวรากหญ้าจะไหลทะลักเข้าสู่เมือง และที่สุดตรงนี้เองจะเป็น 'กำแพง' แน่นหนา ที่ทำให้เกิดความ 'ยากยิ่ง' ในการล้มล้างรัฐบาลของกลุ่ม-แกนต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ "ความยากในการที่จะล้มระบอบทักษิณเลยอยู่ตรงที่ว่า ในภาค 'เศรษฐกิจนอกระบบ' ซึ่งหมายถึง เกษตรกรรายย่อย คนสลัม คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย แรงงานอพยพ หรือแม้กระทั่งคนทำงานโรงงานในระบบรับเหมาช่วง ซึ่งไม่ได้มีเงินเดือนประจำ ซึ่งจากการวิเคราะห์สถิติแรงงานของไทยในภาวะร่วมสมัยนี้ พบว่าคนเหล่านี้มีสัดส่วนของแรงงานทั้งหมด อยู่ระหว่าง 70-75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เป็นกลุ่มที่จะสนับสนุนคุณทักษิณ" ทั้งนี้ ดร.ผาสุกชี้ว่า คนกลุ่มนี้ไม่เคยได้รับประโยชน์จากระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยก่อนหน้านายกฯ ทักษิณอย่างเป็นกอบเป็นกำ และในความเป็นจริง พวกเขาอาจจะได้รับแต่เพียงความผิดหวังจากคำมั่นสัญญามากมาย ซึ่งท้ายที่สุดไม่สามารถทำได้อย่างที่พูด จนกลายเป็นความผิดหวังอยู่เสมอ ที่สำคัญ ยังขาดซึ่ง 'ความเข้าใจ' อย่างเห็นได้ชัด "เราจึงพบว่า กลุ่มเศรษฐกิจนอกระบบเหล่านี้ เป็นกลุ่มที่เราไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และบางคนไม่อยู่ในฐานะที่จะเข้าใจ เพราะว่าไม่เคยซาบซึ้งเลยว่ามีกลุ่มคนเหล่านี้ และบางทีไม่สามารถจะพูดกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ในภาษาที่พวกเขาจะซาบซึ้ง คือมีปัญหาในเรื่องคอมมิวนิเคชั่นกันด้วย" ที่สุดจึงทำให้เกิด 'ช่องว่าง' ระหว่างคนสองกลุ่ม และทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณแทรกตัวเข้ามาได้ "แต่คุณทักษิณดูเหมือนว่าจะสามารถเข้าใจ และจัดการกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ แล้วเราก็มองเห็นว่า คนส่วนนี้ก็พร้อมที่จะเจรจาต่อรองกับรัฐบาลทักษิณ ตัวอย่างเป็นที่น่าสังเกตว่า 'สมัชชาคนจน' ไม่ได้ร่วมขบวนกับกลุ่มของขบวนการประชาธิปไตยในขณะนี้ คือเขาเข้ามา แต่เขาไม่ร่วมขบวนด้วย แล้วเขาขอเจรจากับรัฐบาล แยกต่างหาก อย่างที่มีการเปิดเจรจากับแกนนำรัฐบาลบางคนเมื่อเร็วๆ นี้" ดังนั้น ดร.ผาสุกจึงวิเคราะห์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณอาจคงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกต่อไป แต่ก็เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะในระยะยาวคนก็จะตระหนักว่าผู้นำแบบ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยแท้จริง ปกป้องมหาเศรษฐีก่อนเป็นอันดับแรก และคิดถึงคนจนเป็นอันดับสองเท่านั้น "นโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นจุดแข็งของคุณทักษิณ ไม่ใช่ของจริง เพราะว่าไม่ใช่นโยบายเพื่อคนจนที่แท้จริง แต่เป็นไปเพื่อที่จะปกป้องและดำรงฐานะของกลุ่มมหาเศรษฐี เป็นข้ออ้างที่จะดำเนินนโยบายเพื่อคนจน แต่จริงๆ ไม่ใช่ เป็นการลวง เป็นการหลอก.. "ที่สุดเขาก็จะตระหนักว่าเขาจะต้องมีผู้นำของเขาเอง ถึงขนาดที่อาจจะต้องคิดถึงการตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเอง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเขา โดยที่ไม่ต้องไปพึ่งผู้นำที่มากับ 'ม้าขาว' แบบนี้ เขาจะต้องการผู้นำที่ไม่ได้ปล้นเศรษฐกิจ ไม่ได้ปล้นสังคม แล้วก็ไม่ได้ปล้นการเมืองไทย" อย่างไรก็ดี นอกจากนี้ ดร.ผาสุก ได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดความยากยิ่งในการล้มล้างระบอบทักษิณ โดยที่คนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายประชานิยมโดยตรง หากแต่ได้รับผลพลอยได้แบบ 'เต็มหน้าตัก' จากสต็อคมาร์เก็ต (ตลาดหุ้น) นั่นคือ คนในโลก 'ทุนนิยม' สุดขั้ว หรือที่ ดร.ผาสุก เรียกว่า 'ขบวนการโลกาภิวัตน์' "คุณทักษิณอาจจะประสบความสำเร็จ เพราะว่ามีแรงหนุนจากขบวนการโลกาภิวัตน์อย่างแน่นหนา เพราะถ้าคุณฟังซีเอ็นเอ็น ดิ อีโคโนมิสต์ คุณก็จะพบว่า ขณะนี้ทุนขนาดใหญ่จากต่างประเทศ กำลังตื่นเต้นกับเมกะโปรเจคทั้งหลายที่คุณทักษิณเสนอ" "เพราะฉะนั้นพวกเขาจะรู้สึกเสียดายเป็นอย่างมาก ถ้าหากว่าผู้นำแบบคุณทักษิณที่จะทำให้สต็อคมาร์เก็ตฟู ทำให้เกิดเมกะโปรเจคที่เขาจะเข้ามาลงทุนแล้วก็ได้สิทธิพิเศษต่างๆ รวมทั้งเข้ามาลงทุนในเรียลเอสเตทที่รวมกับพวกเมกะโปรเจคเหล่านี้ มันสูญสลายไป" 0 0 0 แม้ว่า ดร.ผาสุก มิอาจ 'ฟันธง' ว่าที่สุดของที่สุดจะเกิดอะไรขึ้น หากแต่ทิ้งทวนไว้อย่างน่าสนใจว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งแบบ 'ไม่ธรรมดา' "เรากำลังจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ใช่การเลือกตั้งแบบธรรมดาๆ แต่เป็นการลง 'ประชามติ' เกี่ยวกับคุณทักษิณ เพราะในคำปราศรัยเมื่อ 3 มีนาคม คุณทักษิณเจาะจงว่า ถ้าไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ก็จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็ยังบอกว่าจะพยายามปฏิรูปรัฐธรรมนูญภายใน 9-15 เดือน" ดังนั้น แนวทางที่จะล้มทักษิณให้ 'อยู่หมัด' คนไทยควรไปออกเสียงเลือกตั้งทุกคน ที่สำคัญ ต้องโหวตให้พรรคอื่น หรือกาช่องไม่โหวตใครเลย เพราะน่ากลัวว่าคนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีทางประกาศลาออกแน่นอน "คุณทักษิณจะไม่ยอมลาออกแน่นอน ยกเว้นว่าอาจจะต้องถูกจี้ หรือเกิดแอ็คซิเดนท์ เพราะว่าความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ไม่เกิดเฉพาะกับตัวคุณทักษิณเอง แต่จะเกิดกับครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก รวมทั้งระบบราชการที่เข้าไปสนับสนุน จะเรียกว่าล้มทลายกันเป็นระนาบเลย ซึ่งคุณทักษิณคงไม่อยากจะให้มีผลกระทบไปถึงครอบครัว เพราะฉะนั้นจะไม่ยอมลาออกแน่นอน" ถึงตรงนี้ ดร.ผาสุกจึงอดสะท้อนใจถึงประเด็นทาง 'จริยธรรม' ไม่ได้ว่า ด้วยการต้องดิ้นเอาตัวรอด นายกฯ รักษาการผู้นี้ อาจทำทุกวิถีทางเพื่อให้ 'ชนะ' ด้วยกลวิธีแบบ 'ถนัด' ที่สุด และได้ใจคน 'ง่ายที่สุด' ที่สำคัญ ไม่เฉพาะกับคนรากหญ้าเท่านั้น "และที่ดิฉันเชื่อว่าคุณทักษิณเชื่อก็คือ เงินซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้ เพราะประสบการณ์ของคุณทักษิณ คือได้ซื้อ ส.ส. และวุฒิสมาชิก บางกลุ่ม-บางคนมาแล้ว.. "ดังนั้น ถ้าเกิดกระบวนการปฏิรูปหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ จะ 'การันตี' ได้อย่างไรว่ากระบวนการปฏิรูปจะไม่ถูกซื้อมา"

โพสโดย: Aluntarope Mar 21 2006, 01:15 AM
สุทธิชัย หยุ่น ฤๅคุณ 'เป็นกลาง' ระหว่าง ความดีกับความชั่ว?ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้ 'ทักษิณออกไป' และใช้มาตรการ 'อารยะแข็งขืน' เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกอย่างแท้จริงของคนไทย ก็มีคนไทยบางคนเริ่มบอกว่าจุดยืนของตัวเองคือ 'อยู่ตรงกลาง' น่าสนใจว่า ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในภาวะที่ไม่เคยมีความคึกคักในระดับนี้มาก่อน, สังคมไทยบางส่วนได้ออกมาเรียกร้องให้คนอื่นรักษา 'ความเป็นกลาง' ด้วยเหตุผลที่ว่าจะเป็นการหาทางออกจากภาวะตีบตันนี้ คนที่เลือก 'อยู่ตรงกลาง' บางคนเสนอว่า ให้ทักษิณและฝ่ายต่อต้าน 'ถอยคนละก้าว' แต่ไม่ได้บอกว่าก้าวที่จะถอยของแต่ละฝ่ายนั้นคืออะไร และ 'การถอย' นั้น จะกระทบผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือไม่ ความรู้สึกต้องการจะ 'อยู่ตรงกลาง' สำหรับบางคนนั้น เข้าใจได้ เพราะไม่ต้องการเห็นความรุนแรง, ไม่ต้องเห็นการเผชิญหน้า, และต้องการให้เรื่องจบลงโดยเร็วเพื่อจะได้ 'กลับไปสู่ภาวะปกติโดยเร็ว' แต่การ 'กลับไปสู่ภาวะปกติ' นั้นคืออะไร ไม่มีใครบอกได้ เพราะ 'ภาวะปกติ' ที่ผ่านมาห้าปีในบ้านเมืองนั้น เป็นภาวะที่ไร้ความปกติอย่างยิ่ง เป็นสภาพที่ผู้คนเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ และค้นหาความเป็นจริงเพื่อจะได้สร้างสังคมใหม่ที่จะมีความรู้สึก 'พอเพียง' และไร้การโกงกิน, การเอารัดเอาเปรียบกันอย่างร้ายแรงเช่นที่เห็นกันอย่างชัดเจน จุดยืน 'เป็นกลาง' อาจจะฟังดูน่าสนใจและน่าใคร่ครวญ แต่ไม่ได้เป็นการหาทางออกให้กับสังคมได้อย่างจริงจัง เพราะเราจะ 'เป็นกลาง' ระหว่างจริยธรรมกับความฉ้อฉลได้อย่างไร? เราจะ 'เป็นกลาง' ระหว่างการทับซ้อนของผลประโยชน์กับความเป็นธรรมของสังคมได้กระนั้นหรือ? เราจะสอนลูกสอนหลานเราให้ 'เป็นกลาง' ระหว่างความซื่อสัตย์กับความคดโกงได้หรือ? ถ้า 'ความเป็นกลาง' หมายถึง การให้โอกาสเท่าเทียมกันทั้งสองฝ่ายที่จะแสดงจุดยืนของตัวเองต่อสาธารณชนเพื่อให้ประชาชนเจ้าของประเทศเป็นผู้ตัดสินว่าใครผิดใครถูก, นั่นอาจจะพอเข้าใจได้ว่าเป็นมาตรฐานของสังคมที่ควรส่งเสริม แต่ถ้า 'ความเป็นกลาง' หมายถึงการที่ไม่ว่าใครจะผิดใครจะถูกอย่างไร, สังคมก็จะให้อภัย, เอาสองฝ่ายมาบวกกันแล้วหารสองในทุกกรณี, ก็น่าสงสัยว่าสังคมนั้นจะปกป้องความถูกต้องชอบธรรมได้อย่างไร? สังคมที่ 'หารสอง' ระหว่างความดีกับความชั่ว ก็จะเป็นได้เพียง 'สังคมสีเทา' ที่ไม่ต้องการจะตัดสินว่าอะไรดี, อะไรชั่ว...กลายเป็น 'สังคมไม่เป็นไร' แบบไทยๆ ที่ใช้ชีวิตมั่วๆ ไปวันๆ หนึ่ง ลองพิจารณาลักษณะของผู้คนที่ไปร่วมการประท้วงที่สนามหลวงของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับผู้เข้าร่วมเชียร์ทักษิณ ชินวัตร ที่สนามหลวงวันที่ 3 มีนาคม จะเห็นความแตกต่างระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายไหนไปเพราะความเชื่ออย่างสุจริตใจ, ฝ่ายไหนไปเพราะถูกเกณฑ์ไป... นี่คือ ความแตกต่างที่สังคมต้องแยกแยะ, ต้องแสวงหาคำตอบจึงจะกำหนด 'จุดยืน' ของตัวเองได้อย่างถูกต้อง แรกเริ่มที่ผู้คนติดตามข่าวสารเรื่องทักษิณกับจริยธรรมนั้น ความสับสนของข้อมูลข่าวสารอาจจะทำให้หลายคน 'อยู่ตรงกลาง' หรือ 'เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์' เพราะหลายเรื่องหลายราวยังไม่ชัดเจน เป็นเพียงข้อกล่าวหาบ้าง, เป็นการแก้ตัวลอยๆ บ้าง แต่นานๆ เข้า, ความกระจ่างก็เกิดขึ้น และเมื่อนั้นแหละ 'ความรู้สึกชั่วดี' ของคนที่ติดตามข่าวสารจะเริ่มทำงานให้กับตัวเอง เมื่อ 'ความสำนึกชั่วดี' ของปุถุชนที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับด้านใดด้านหนึ่ง ถูกปลุกขึ้นมา, สิ่งที่จะตามมาก็คือ การตัดสินใจ 'เลือกข้าง' เพราะหากคุณเป็นผู้ใส่ใจในความเป็นไปของบ้านเมืองอย่างแท้จริง, คุณจะไม่สามารถจะบอกตัวเองว่าคุณเอาสองฝ่ายมาบวกกันแล้วหารด้วยสอง... แล้วคุณไม่อาจจะตัดสินใจได้ว่าอยู่ข้างไหน เพราะแม้วันนี้คุณยังไม่ได้ตัดสินใจ, พรุ่งนี้คุณก็จะเรียกร้องแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตอบตัวเองว่าคุณยืนอยู่ตรงไหนของเหตุการณ์กันแน่ ในภาวะเช่นนี้ 'ความเป็นกลาง' จึงเป็นเรื่องแปลก, เป็นเรื่องเข้าใจได้ แต่อธิบายกับตัวเองได้ยากเหลือเกิน ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณตัดสินใจแล้วว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นไร ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณกลัวว่าหากเอาความจริงของทุกฝ่ายออกมาวางต่อหน้าคุณแล้ว คุณจะสิ้นหวังกับประเทศชาติมากกว่านี้ และยกเว้นเสียแต่ว่าคุณสามารถ 'อยู่ตรงกลาง' ระหว่างความดีกับความชั่วได้จริงๆ

โพสโดย: sudjit Mar 15 2006, 02:04 AM
ข้อมูลของเขาจริงปะ?พิณทองทา ชินวัตร ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สิ่งที่น่าคลางแคลงใจ เกี่ยวกับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของ น.ส. พิณทองทา ชินวัตร ดูเหมือนจะ ถูกละเลยไม่กล่าวถึง คล้ายกับเป็นสิ่งต้องห้าม ที่ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต่างยินยอมพร้อมใจไร้ท่าทีหรือแม่แต่การแสดงความคิดเห็นใดๆต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ในการสอบ EntRance 1999 (พ.ศ. 2542) มีเด็กสาวคนหนึ่งซึ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสตรีเอกชนชื่อดังซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้าชิดลมตั้งอยู่ด้านหน้า ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (ภาคพิเศษ) คณะ อุตสาหกรรมเกษตร รหัสนิสิต 42150888* ประเด็นที่น่าขบคิด คือ 1. นิสิตใหม่ผู้นี้จบการศึกษาจากการสอบเทียบ(หรือการศึกษานอกโรงเรียน: ซึ่งเปิดให้นักเรียนในระบบสามารถสอบเทียบได้เป็นปีสุดท้าย โดยหลังจากปี 2542 แล้วได้ตัดสิทธินักเรียนที่เรียนในระบบ มิให้ใช้สิทธิสอบเทียบอีก) ขณะที่การศึกษาในโรงเรียนเธอนั้น เธอร่ำเรียนมาในสายศิลป์-คำนวณ หลัก เกณฑ์ของคณะในการรับนิสิตนั้น ทางคณะฯรับนิสิตโดยตรง ซึ่งทำการสอบข้อเขียนที่จัดขึ้นเป็นการเฉพาะและกำหนดคุณสมบัติของนิสิตว่าต้องเป็นนักเรียนสาขาวิทย์-คณิต เหตุใดเธอจึงเข้าเรียนในสาขาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (ภาคพิเศษ) คณะอุตสาหกรรมเกษตร? ข้อโต้แย้ง เป็นไปได้ว่า เธอผู้นี้สอบเทียบในสาขาวิทยาศาสตร์มาก็อาจเป็นได้ 2. เธอเข้ามาศึกษาในคณะฯเป็นเวลา 1 ปีเศษ โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมในภาคเรียนที่ 1 และภาค เรียนที่ 2 เป็น 1.50 และ 1.58 ตามลำดับ (ต้องการข้อมูลยืนยัน โปรดติดต่อสำนักทะเบียนและ ประมวลผล มก. : รับประกันได้ว่าเขาไม่มีทางให้คุณดูแน่นอน!) แต่สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุด คือ ชื่อของเธอ ผู้นี้ปรากฏอยู่ในรายชื่อของนิสิตใหม่ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสสศาสตร์ สาขา บริหารรัฐกิจ ในปีการศึกษา 2543 ภาคเรียนที่ 1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรหัสนิสิตใหม่อย่างเสร็จสรรพ คือ 4208281* เงื่อนไขในการเข้าศึกษาคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ฯ สาขาบริหารรัฐกิจ ตามที่ระบุในหนังสือ คู่มือการเลือกคณะ แสดงคะแนนรวมต่ำสุดไว้ที่ 57.60% โดยมีรายวิชาที่ต้องสอบ คือ 01 02 03 08 และ 09 (นิสิตปัจจุบันอาจจะไม่เข้าใจ กล่าวคือ เป็นรหัสวิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา อังกฤษ วิทยา ศาสตร์กายภาพและชีวภาพ และคณิตศาสตร์ตามลำดับ) ถือว่าเป็นคณะและภาควิชาที่มีการแข่งขันสูงคณะหนึ่งและคะแนนก็อยู่ในระดับที่สูงกว่ามาตรฐานมาโดยตลอด คำถามก็คือ 2.1 เธอผู้นี้มีคุณสมบัติใด จึงสามารถย้ายคณะได้ ทั้งๆที่เธอเข้ามาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วย การสอบตรงของคณะอก. และเป็นภาคพิเศษ ในปี 2542 (แน่นอนว่าเธอไม่มีคะแนนสอบEnt ในปี 2000 ด้วย) 2.2 การย้ายคณะของเธอกระทำได้อย่างไร ถูกตามหลักเกณฑ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการย้ายคณะหรือไม่? และเหตุใดจึงต้องเปลี่ยนรหัสนิสิตใหม่? (การย้ายคณะไม่ใช่เรื่องแปลก ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือ กรณี การย้ายคณะของนิสิตสายวิทย์ เช่น วิทยา มา วิศวะ หรือนิสิตคณะเกษตรฯ ย้ายเข้าคณะอก. : แต่ การย้ายทุกครั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสนิสิตของนิสิตผู้ย้ายคณะแต่อย่างใด เพราะจะมีปัญหาตามมาภายหลังจากทะเบียนนิสิตซ้ำซ้อน การคิดเกรด การตรวจสอบการจ่ายค่าการศึกษา การทำเรื่องขอจบ และ การอนุมัติการจบการศึกษา) เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลาท่านผู้อ่านผู้เจริญด้วยปัญญา ขออนุญาตนำไปพบกับหลักเกณฑ์การย้ายคณะที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบุไว้ คือ ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พุทธศักราช 2521 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง) ข้อ 15.1.2 ระบุว่า นิสิตที่เข้าเรียนในคณะเดิม แต่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในปีการ ศึกษาแรกต่ำกว่า 2.00 “ไม่มีสิทธิย้ายคณะ” แต่ผลการเรียนเฉลี่ยของเด็กสาวคนนั้นเพียง 1.50 และ 1.80 เธอย้ายคณะได้ อย่างไร? กลับมาพิจารณาตามเส้นทางการศึกษาอันน่าพิศวงของเธอกันต่อ ในความแตกต่างระหว่างภาคพิเศษและภาคปกติ ที่ชัดเจน คือ การคัดเลือกนิสิต จากการสอบโดยตรงและมีข้อสอบเฉพาะ ความยากง่ายอาจ จะไม่ห่างกันเท่าใดนัก แต่เน้นความรู้ความเข้าใจในสขาเฉพาะที่คณะหรือภาควิชานั้นต้องการมากกว่า และภาคพิเศษเป็นโครงการที่เลี้ยงตนเอง ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยจำนวนมากเช่นภาคปกติ แน่นอนว่าค่าเล่าเรียนของนิสิตในภาคพิเศษย่อมมีราคาสูง คำถามที่ชวนขบคิด คือ เกษตรฯมีโครงการภาคพิเศษ(เฉพาะปริญญาตรี) หลายคณะ เช่น วิศวะ อก. บริหาร เศรษฐ์ วิทย์ เป็นต้น ถ้ามหาวิทยาลัยอนุญาตให้นิสิตปีหนึ่งเมื่อจบการศึกษาผ่านไป 1 ปี สามารถย้ายคณะจากภาคพิเศษ ไปภาคปกติในอีกคณะหรือแม้แต่ภายในคณะเดียวกันได้ อยากถามว่า ในอนาคต หากมีนักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนในสาขาวิชาหนึ่ง แต่ไม่อยากสอบ ent จึงสมัครเข้าเรียนในโครงการภาคพิเศษคณะใดคณะหนึ่งก่อนจะทำเรื่องขอย้ายเข้าเรียนในคณะที่ตนหมายตาไว้ตั้งแต่ต้น แม้อาจจะเสียเวลาไป 1 ปี (คล้ายกับเส้นทางเดินของการยักย้ายถ่ายเทหุ้นเลยเนอะ) ซึ่งหมายความว่า เด็กนักเรียนหรือนิสิตใหม่นั้น สามารถทำได้ เพราะมีกรณีนิสิตสาวผู้นี้เป็นบรรทัดฐานใช่หรือไม่? สิ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดีของคณะที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ในช่วงขณะที่นิสิตผู้นั้นเข้าศึกษา ต้องตอบกับสังคม คือ ปล่อยให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในรั้วสถาบันอุดม ศึกษาได้อย่างไร? มาตรฐานของมหาวิทยาลัยอยู่ที่ไหน? การกระทำเช่นนี้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ต่างอะไรกับการสนับสนุนและส่งเสริมในการกระทำทุจริตทางการศึกษา เป็นไปได้หรือ? ที่ผู้ปกครองของเด็กสาวจะไม่รู้เรื่องการเรียนการศึกษาของลูก เป็นไปได้หรือ? ปฏิเสธ ความไม่รู้ย่อมไม่ได้ เพราะนิสิตสาวผู้นี้ขณะที่กระทำอำพรางทางการศึกษาเช่น นี้เธอยังไม่บรรลุนิติภาวะและเธอก็อาศัยอยู่กับครอบครัวโดยตลอด เป็นไปได้หรือ? ที่คณะที่เกี่ยวข้องจะอนุโลมให้เด็กสาวผู้นี้เป็นกรณีพิเศษ เป็นไปได้หรือ? ที่เธอย้ายคณะได้โดยสะดวก เพราะผู้ปกครองเป็นหนึ่งในกรรมการสภามหาวิทยาลัย พร้อมทั้งออกทุนทรัพย์ส่วนตนปรับปรุงห้องสมุดให้แก่คณะที่เธอต้องการเข้าศึกษา และทั้งหมดนี้ คือ คำตอบว่าเหตุใดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงไม่แม้แต่จะแสดงท่าที กำหนดจุดยืน ใดๆ ต่อภาวะการณ์ทางการเมือง ณ เวลานี้ ใช่หรือไม่? อ้อ....ขอแถมให้อีกนิด นิสิตสาวผู้นี้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2546 รับพระราชทานฯในเดือน กรกฎาคม 2547 ด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยมอันดับ 2 (3.25 ขึ้นไป) และมีความพยายามที่จะหาทาง มอบเกียรตินิยมให้เธอให้ได้ แต่มิเป็นผลสำเร็จเนื่องจากเผชิญแรงต้านจากกรรมการตรวจสอบที่ยังคง ไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ทำให้ เพราะหากจะพิจารณาอย่างจริงจังแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า น่ากลัวจะมีรายการ เพิกถอนปริญญา พร้อมทั้งสอบสวนผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้สะเทือนลั่นทุ่งบางเขน!!!!!! แม้กระทั่งการศึกษายังไม่โปร่งใสแล้วเราจะไว้ใจให้บริหารประเทศต่อไปอีกหรือ? ทักษิณขี้โกง (เพื่อนส่งมาให้อ่าน โปรดใช้วิจารณญาณในการใคร่ครวญ)

No comments: